หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ตรุษจีน 2556



ตรุษจีน 2556 ปีนี้ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งในวันก่อนตรุษจีนหรือวันที่ 9 กุมภาพันธ์
จะมีการเซ่นไหว้ตามประเพณี หรือที่เรียกกันว่า "วันชิวอิด"  การไหว้เทพแห่งโชคลาภ หรือ "ไช้ซิ้งเอี้ย" ก็จะไหว้กันวันนี้นี่เอง  ในปีนี้ฤกษ์ดีของการไหว้เทพแห่งโชคลาภจะเป็น เช้ามืดของวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 24.01 - 24.59 น. (หลังเที่ยงคืนขงวันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556) ซึ่งเป็นช่วงที่ฟ้าเปิด ปีนี้ "องค์ไท้ส่วย" จะเสด็จมาทางทิศตะวันตก  ประเพณีวันตรุษจีนปกติจะเริ่มจาก

- วันจ่าย เป็นวันก่อนสิ้นปี 1 วัน ซึ่งตามปกติชาวจีนจะนิยมซื้อข้าวขงเครื่องใช้ ตกแต่งทำความสะอาดบ้าน ให้เรียบร้อยก่อนจะเริ่มต้นรับวันปีใหม่หรือวันตรุษจีน

- วันไหว้ จะทำกันในวันสิ้นปีหรือปี 2556 นี้ก็จะตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ การไหว้จะเริ่มตั้งแต่เช้ามืดจะเป็นการไหว้เจ้าที่  การไหว้บรรพบุรุษในช่วงสาย  แล้วไหว้ผีไม่มีญาติในตอนบ่าย (แต่มักจะไม่นิยมไหว้กันเท่าไหร่)

- วันถือ หรือบางคนก็เรียกวันนี้ว่า วันเที่ยว ในวันนี้ถือว่าเป็นวันปีใหม่เริ่มต้นสิ่งใหม่ๆทุกคนจะพูดและทำแต่สิ่งที่เป็นมงคล  กล่าวอวยพรซึ่งกันและกัน  มีข้อห้ามที่มักจะไม่ทำกันในวันนี้ เช่น ห้ามจับไม้กวาด หรือห้ามกวาดบ้าน เพราะจะเป็นการกวาดสิ่งดีๆ ในบ้านออกไปแล้วกวาดเอาสิ่งไม่ดีเข้ามา ,ห้ามใช้ของมีคม เพราะาจจะเป็นการตัดสิ่งที่ดีหรืออนาคตที่ดีที่จะเข้ามาในวันปีใหม่ เป็นต้น  วันถือนี้ครอบครัวจะได้มาพบหน้ากันก็มักจะพากันออกไปเที่ยวดังนั้นหลายๆคนเรียกเรียกว่า "วันเที่ยว" ไปในตัว



การไหว้ตรุษจีนนั้น มักจะประกอบไปด้วย อาหารคาว - หวาน ผลไม้ และเครื่องเซ่นไหว้ ย่างกระดาษเงิน - ทอง ทุกอย่างมีความหมายในตัวเองทั้งนั้น หลักๆที่จะใช้ไหว้มีดังนี้

- กล้วย คนจีนแต้จิ๋วเรียกกล้วยว่า “เกงเจีย” เพื่อให้กวักโชคเข้ามา
- องุ่น คนจีนแต้จิ๋วเรียกองุ่นว่า “พู่ท้อ” หรือเพื่อให้ “งอกงาม”
- แอปเปิ้ล คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “ผิ่งก้วย” หรือ “เผ่งก้วย” ไหว้เพื่อให้เผ่งอัน หรือ “โชคดี”
- สาลี่ จะนำโชคลาภมาถึง
- ส้มสีทอง หมายถึงความสวัสดีมหามงคล
- สับปะรด หมายถึงการมีโชคเข้ามาหา
- ไก่ เพื่ออวยพรให้ก้าวหน้าในงาน เพราะไก่มีหงอนเหมือนหมวกขุนนาง และขันทุกเช้า
- ตับ เพื่อให้ก้าวหน้าในงานเพราะคนจีนแต้จิ๋วเรียกตับว่า “กัว”
- หมู เพื่อให้สมบูรณ์พูนสุข
- ปลา เพื่ออวยพรให้เหลือกินเหลือใช้ ภาษาจีนเรียกว่า “อู่ฮื้ออู่ซึ้ง”
- เป็ด เพื่อให้มีมากๆ
- บะหมี่ยาว หรือหมี่ซั่ว เป็นตัวแทนแห่งการมีอายุยืนยาวเหมือนเส้นหมี่
- ปลาหมึกแห้ง เพื่อให้มีความรู้ เป็นการอวยพรให้เป็นบัณฑิต หรือผู้มีความรู้
- เม็ดบัว หมายถึงการมีบุตรชายจำนวนมาก
- ถั่วตัดหรือขนมจันอับ หมายถึงแท่งเงิน มีความสุขตลอดไป
- สาหร่ายทะเลสีดำ หมายถึงความมั่งคั่ง ร่ำรวย
- หน่อไม้ คือการอวยพรให้ร่ำรวยผาสุข
- ซาลาเปา เพื่อ “เปาไช้” แปลว่า “ห่อโชค”
- ขนมถ้วยฟู เพื่อให้เฟื่องฟูรุ่งเรือง
- ขนมไข่ เพื่อให้เจริญเติบโต
- ขนมเข่ง เพื่อให้มีเพื่อนมาก
- ขนมเทียน  เพื่อให้สว่างรุ่งเรือง
- กระดาษเงินกระดาษทอง คนจีนเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้วจะไปอีกภพโลกหนึ่ง เรียกว่า “อิมกัง” ดังนั้นลูกหลานจะต้องส่งเงินส่งทองไปให้เพื่อแสดงความกตัญญู  ด้วยการไหว้เจ้าและเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้และการไหว้เจ้ายังเป็นสิริมงคลกับลูกหลานให้มีความสุขความเจริญ ซึ่งกระดาษเงินกระดาษทองบางแบบใช้ไหว้เจ้า บางแบบใช้ไหว้บรรพบุรุษ
- กอจี๊ หรือ จี๊จุ้ย เป็นกระดาษเงินกระดาษทองชิ้นใหญ่มีกระดาษแดงตัดเป็นลายตัวหนังสือว่า “เผ่งอัน” เป็นคำอวยพร แปลว่า โชคดีไว้สำหรับไหว้เจ้าที่ไหว้เทพยดาฟ้าดิน
- กิมจั้ว หรือ งึ๊งจั๊ว กระดาษเงินกระดาษทองเวลาจะไหว้จะทำเป็นชุด ก่อนไหว้ลูกหลานต้องนำมาพับเป็นรูปดอกไม้ ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง
- กิมเต้า หรือ งึ้งเต้า หรือถังเงินถังทอง ใช้ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน
- กิมเตี๊ยว คือ แท่งทอง  ใช้ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้คนตาย
- อิมกังจัวยี่  คือแบงค์กงเต็ก อ่วงแซจิ่ว  ใช้เผาเบิกทาง ไปสวรรค์สำหรับผู้ตาย

ในการไหว้เจ้าที่ในช่วงเช้าจะประกอบไปด้วยชุดซาแซ หรือหมู เป็ด ไก่  ขนมเทียน และขนมถ้วยฟู ผลไม้ก็มักจะเป็นส้ม องุ่น แอ๊บเปิล พร้อมด้วยกระดาษเงิน กระดาษทอง  ในช่วงสายๆไม่เกินเที่ยงก็จะเริ่มไหว้บรรพบุรุษกัน ก็จะประกอบไปด้วยชุดซาแซ อาหารคาว-หวาน มักจะเลือกที่มีความหมายมงคล หรือตามที่ผู้ที่ล่วงลับชอบ  ในวันตรุษจีนในฐานะชาวพุทธในตอนเช้าอาจจะมีการทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน ปล่อยนกปล่อยปลาเพื่อเป็นทาน สำหรับเด็กๆวันนี้ถือเป็นวันที่รอคอยมานานเพราะจะได้รับอังเปา ที่ผู้ใหญ่จะให้เงินเด็กๆ เอาไว้ซื้อของที่ตัวเองอยากได้ถือว่าวันตรุษจีนเป็นวันที่เริ่มต้นสิ่งดีสำหรับปี
ของทุกคนเลยทีเดียว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น